ติดตามกันต่อกับสถานการณ์ความคืบหน้าและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสถาบันอาชีวศึกษา
ภายหลังการประกาศใช้คำสั่งคสช.ที่ 8/2559
โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) รวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนทั่วประเทศมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(สอศ.) เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการเกิดประสิทธิภาพ
และมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เดินหน้าจัดประชุมชี้แจงขั้นตอนการรวมสถานศึกษากับผู้บริหารต่างๆ
พร้อมทั้งประเมินสถานการณ์เตรียมการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นภายหลังการควบรวม
สอศ.ประชุมการบริหารจัดการรวมอาชีวศึกษาภาครัฐและเอกชน
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
เชิญผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ กว่า 1,000 คน เข้าร่วมประชุมชี้แจงขั้นตอนการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเข้าด้วยกัน
เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาตามคำสั่งของ คสช. ที่วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า
นับจากนี้จะต้องมีการ Rebranding ภาพของการศึกษาอาชีวะ
ทั้งนี้เห็นว่าการควบรวมอาชีวะภาครัฐกับเอกชนร่วมกันจะเกิดผลดีต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา
แต่การควบรวมนี้ไม่ได้หมายความว่าอาชีวะเอกชนเป็นของรัฐ
เพียงแต่เปลี่ยนหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแลจาก สช.เป็น สอศ. เท่านั้น
ในปีการศึกษา 2559
สอศ.กำหนดสัดส่วนรับนักเรียนสายอาชีพต่อสายสามัญอยู่ที่ 42
ต่อ 58 โดย 42%
ของอาชีวะทั้งอาชีวะรัฐและเอกชนในจังหวัดต้องวางแนวทางส่งต่อเด็กร่วมกัน เนื่องจาก
พบว่า มีนักเรียน 7% ที่จบ ม.3
แล้วไม่เรียนต่อ แต่เข้าสู่ตลาดแรงงาน
สอศ.จะไปจูงใจให้เด็กกลุ่มนี้มาเรียนสายอาชีพมากขึ้นหลังจากมีการควบรวมอาชีวศึกษาภาครัฐ-เอกชน
สอศ.จะมีวิทยาลัยอาชีวะอยู่ในกำกับดูแลทั้งสิ้น 886 แห่ง
และมีนักเรียนสิ้น 976,615 คน แบ่งเป็น วิทยาลัยอาชีวะรัฐ
จำนวน 425 แห่ง นักศึกษา 674,113 คน
และวิทยาลัยอาชีวะเอกชนจำนวน 461 แห่ง นักศึกษา 302,502 คน
พลเอก ดาว์พงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า
วิทยาลัยอาชีวะแต่ละที่ควรมีความถนัดเฉพาะทาง ไม่ซ้ำซ้อน
แล้วให้เด็กเลือกตามความถนัดของตนเอง
อาชีวะทั้งส่วนกลางและในระดับจังหวัดต้องมาระดมสมองร่วมกันเพื่อหาจุดอ่อนและจุดแข็งของแต่ละฝ่าย
วางแผนการรับนักเรียน นักศึกษาร่วมกัน สร้างความเป็นเลิศแต่ละด้านในสถานศึกษา
ไม่ต้องแยกเด็กกันและช่วยกันประคับประคองไม่ให้ต้องปิดตัวลง เพราะเป้าหมายจริง ๆ
คือ รัฐต้องการสร้างให้เอกชนมีความเข้มแข็งเพื่อแบ่งเบาภาระในการจัดการเรียนการสอน
และเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวศึกษาให้มากขึ้น เพื่อผลิตกำลังคนที่มีทักษะฝีมือให้เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศ
มึนอาชีวะเอกชน 59% มี น.ร.ต่ำ 500 คน สอศ.ห่วงทยอยปิดตัว-เล็งว.รัฐรับจำกัด
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า
จากการสำรวจข้อมูลผู้เรียนในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน 461 แห่ง พบว่า
มีผู้เรียนทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รวม 287,184 คน
ขณะที่สถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐมี 425 แห่ง
น้อยกว่าสถานศึกษาเอกชน แต่กลับมีผู้เรียนทั้งระดับ ปวช.และ ปวส.รวม 670,457คน
เมื่อจำแนกสถานศึกษาเอกชนตามจำนวนนักเรียน
พบว่า 276 แห่ง คิดเป็น 59%
ของสถานศึกษาเอกชนทั้งหมด มีผู้เรียนน้อยกว่า 500 คน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องแก้ไขปัญหา
เพราะหากปล่อยไว้สถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนอาจต้องปิดตัวลง
โดยเฉพาะสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนน้อยมากๆ
นายชัยพฤกษ์กล่าวว่า ตนมอบหมายให้สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ไปวิเคราะห์ตัวเลขที่เหมาะสม
ว่าวิทยาลัยอาชีวะ 1 แห่ง
ควรจะต้องมีผู้เรียนขั้นต่ำกี่คนจึงจะอยู่รอด
โดยจะไม่ใช้แนวทางการยุบรวมวิทยาลัยที่มีผู้เรียนน้อย
แต่จะหาวิธีเพิ่มผู้เรียนในวิทยาลัยที่มีเด็กน้อย โดยแนวทางหนึ่งที่จะแก้ปัญหานี้คือการจำกัดจำนวนการรับเด็กในวิทยาลัยอาชีวะรัฐ
เพื่อเกลี่ยเด็กให้วิทยาลัยเอกชนมากขึ้น การเปิดห้องเรียนสาขา
โดยให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาทั้งรัฐ และเอกชน ที่มีชื่อเสียง และมีศักยภาพ
เปิดห้องเรียนสาขาในวิทยาลัยอาชีวะที่มีผู้เรียนน้อย พัฒนาให้เป็นวิทยาลัยเฉพาะทาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น