หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยหรือแทบไม่รู้จักกับการจัดสอบ V-NET
วันนี้ We
Need to Talk จึงจะพาไปให้รู้ถึงข้อมูลที่จำเป็นต่อการศึกษาสายอาชีพและข้อสงสัยต่างๆ
นานา
V-NET คืออะไร?
V-NET ย่อมาจาก Vocational
National Education Test หมายถึง การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
ทางด้านอาชีวศึกษา เป็นการทดสอบวัดความรู้มาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพ
ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา ทีจะจบระดับชั้น
ปวช.3 V-NET เทียบได้กับการทดสอบ O-NET ของนักเรียนสายสามัญที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หรือมัธยมปีที่ 6
ความสำคัญของการสอบ V-NET
การทดสอบ V-NET เป็นการสอบวัดมาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพ
ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ต้นสังกัด
และสถานศึกษาในการที่จะทราบมาตรฐานการเรียนการสอนของครูและ นักศึกษา ผลการทดสอบ V-NET
สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอนของครู
อันจะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสูงขึ้นได้ รวมทั้งการนำผลการสอบ V-NET
ไปใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาด้วย
V-NET สอบวิชาใดบ้าง?
ตามโครงสร้างหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(ปวช.) พุทธศักราช 2545
ปรับปรุง พ.ศ. 2546 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วย
วิชาสามัญ ไม่น้อยกว่า 26 หน่วยกิต วิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 66 หน่วยกิต และวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต
รวมทั้งสิ้น ไม่น้อยกว่า 102 หน่วยกิต ฉะนั้นข้อสอบ V-NET
จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ข้อสอบวิชาสามัญ
(ประกอบด้วย 6 วิชา ได้แก่ วิชาภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และวิชาพละศึกษาและสุขศึกษา) ประมาณ ร้อยละ 20-25 และข้อสอบวิชาชีพตามสาขาวิชาที่เรียน ประมาณร้อยละ 75-80 เปอร์เซ็นต์
สอบ V-NET ใครรับผิดชอบ?
การ ทดสอบ V-NET ควรเป็นการดำเนินงานร่วมกันของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
(สอศ.) และสถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ให้ศึกษานิเทศก์ และ
ครูที่เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชาร่วมกันออก
ข้อสอบอยู่ภายใต้กรอบและการ ดำเนินการของ สทศ. ส่วนการจัดสอบนั้นดำเนินการผ่านทางเครือข่ายของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนา
อาชีวศึกษาประจำภาค และอาชีวศึกษาจังหวัด โดยอยู่ภายใต้การจัดการของสทศ.
จากการสำรวจตามเว็ปไซต์ต่างๆ
พบว่ามีเด็กสายอาชีพอีกจำนวนมากที่ไม่ทราบว่าตนเองมีสิทธิ์สอบแอดมิชชั่นจากการใช้คะแนน
gat/pat หรือ o-net ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ทั่วถึง
ความคิดเห็นหนึ่งจากกระทู้ในเว็ปพันทิปบอกว่า
ตนเองเห็นใจรุ่นน้อง ถ้าไม่รู้จักไขว่คว้าด้วยตัวเองก็จะไม่ทราบหลายๆ
เรื่องเกี่ยวกับการศึกษาไทยที่ต้องติดตามตลอดเวลา แม้จะไม่เสียใจที่พลาดการสอบ o-net แต่อยากให้เด็กสายอาชีพจำไว้เป็นบทเรียน
ต้องยอมรับว่าสายสามัญจะได้เปรียบกว่าเพราะเนื้อหาที่ออกสอบคือเนื้อหาตอนเรียนมัธยมปลาย
ซึ่งสายอาชีพอาจจะไม่คุ้นเคย ถึงแม้บางมหาวิทยาลัยจะไม่เปิดรับนักเรียนอาชีวะ
แต่การสอบยังเปิดโอกาสให้หากต้องการสมัครสอบ gat/pat
หรือ o-net เพื่อแอดมิชชั่น
ซึ่งอาจจะต้องไปเรียนพิเศษเพิ่มเติมหรือซื้อหนังสือมาอ่านเองเพื่อมีความรู้ในวิชาต่างๆ
มากขึ้น เพราะแต่เดิมตามหลักการของสายอาชีพ
ไม่ได้เน้นให้ผู้เรียนต่อมหาวิทยาลัยเป็นหลัก
สุดท้าย
จึงเป็นที่น่าขบคิดว่าเหมาะสมแล้วหรือที่ให้สายอาชีพที่มีความหลากหลายในหลักสูตรมาสอบวิชาสามัญเท่ากันทั้งที่มีโอกาสน้อยกว่า
แต่มีความต้องการจะเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเหมือนกับเด็กสายสามัญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น